ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา Asiatic pennywort
Asiatic pennywort
Centella asiatica (L.) Urb.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Apiaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Centella asiatica (L.) Urb.
 
  ชื่อไทย บัวบก
 
  ชื่อท้องถิ่น ผักหนอก(ไทลื้อ,ขมุ,ลั้วะ), ด่อผักหนอก(ปะหล่อง), ฟ้าด(เมี่ยน), ชีโพเคาะลอเด๊าะ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ผักหนอกนา(คนเมือง), เบาะโบทอเด๊าะ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุก อยู่ในจำพวกผัก ลำต้นชอบเลื้อยไปตามพื้นดินที่ชื้นแฉะโดยทั่ว ๆ ไปขึ้นง่าย
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุกที่ข้อ ข้อละ 2 – 10 ใบ มีลักษณะคล้ายรูปไต ใบกลมริมขอบใบจะเป็นจักเล็กน้อย
ดอก จะออกเป็นช่อคล้ายร่ม เดี่ยว ๆ หรือมีประมาณ 2 – 5 ช่อหนึ่งมักจะมีประมาณ 3 – 4 ดอก ดอกจะเป็นสีม่วงอมแดง ก้านช่อดอกจะมีความยาวประมาณ 0.5 – 5 ซม. ริ้วประดับจะมีประมาณ 2 – 3 ใบ เกสร เกสรตัวผู้นั้นจะสั้น
ผล จะมีลักษณะแบน มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาวประมาณ 3 – 4 มม. [1]
 
  ใบ ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุกที่ข้อ ข้อละ 2 – 10 ใบ มีลักษณะคล้ายรูปไต ใบกลมริมขอบใบจะเป็นจักเล็กน้อย
 
  ดอก ดอก จะออกเป็นช่อคล้ายร่ม เดี่ยว ๆ หรือมีประมาณ 2 – 5 ช่อหนึ่งมักจะมีประมาณ 3 – 4 ดอก ดอกจะเป็นสีม่วงอมแดง ก้านช่อดอกจะมีความยาวประมาณ 0.5 – 5 ซม. ริ้วประดับจะมีประมาณ 2 – 3 ใบ เกสร เกสรตัวผู้นั้นจะสั้น
 
  ผล ผล จะมีลักษณะแบน มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาวประมาณ 3 – 4 มม.
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ทั้งต้น นึ่งกินกับน้ำพริก(ไทลื้อ,กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ใบ รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก(ปะหล่อง,เมี่ยน)
ใบ รับประทานสดกับลาบหรือลวกจิ้มน้ำพริกก็ได้(คนเมือง)
ใบ นึ่งเป็นผักจิ้มน้ำพริก(ลั้วะ)
- ทั้งต้น รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริกมีสรรพคุณแก้อาการช้ำใน(ขมุ)
ใบ ตำผสมกับ สะระแหน่ หญ้าเอ็นยืดและคาวตอง ใช้ประคบบริเวณที่เอ็นขาด(ปะหล่อง)
ใบ ใช้ต้มน้ำดื่มแก้อาการช้ำใน(คนเมือง)
ทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม แก้อาการปวดเนื้อตัว ปวดกล้ามเนื้อ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
ใบ หั่นผสมไข่ทำเป็นไข่ตุ๋นรับประทานเป็นยาแก้ไอ(เมี่ยน)
- ทั้งต้น ใช้รักษาอาการช้ำใน เป็นยาบำรุงหัวใจและบำรุงกำลัง รักษาอาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้า ขับปัสสาวะ เป็นยาขับโลหิตเสีย รักษาโรคผิวหนัง ใช้รักษาบาดแผล รักษามุดกิจ ระดูขาว รักษาพิษเนื่องจากถูกงูกัด และรักษาอาการเริ่มเป็นบิด ทำให้โลหิตแผ่ซ่าน รักษาอาการท้องร่วง นอกจากนี้ยังใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่น ๆ เป็นยารัก
- ทั้งต้น ใช้ปรุงเป็นยาโดยผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ซึ่งได้แก่พวก ว่านกาบหอย กล้วยหอมดิบ สนหมอก รากบัวหลวง ดอกเก็กฮวย ฯลฯ นำไปต้มกับน้ำตาลกรวดเพื่อแก้ร้อนใน เจ็บคอ เป็นยาเย็น ขับปัสสาวะ ส่วนใบของต้นนั้นมีฤทธิ์ในการห้ามเลือด แต่จะห้ามเฉพาะภายนอกเท่านั้น ภายในห้ามไม่ได้ ใช้ใบขยี้ทาอาการอักเสบของผิวหนัง ตำพอกแก้แผลเรื้อรังหรือผิวหนังอักเสบ ใช้ทาเมื่อถูกแมลงกัดต่อย[1]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง